عَنْ عُبَادَةَ بْنِ الصَّامِتِ رَضيَ اللهُ عنهُ قَالَ: قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ:
«الذَّهَبُ بِالذَّهَبِ، وَالْفِضَّةُ بِالْفِضَّةِ، وَالْبُرُّ بِالْبُرِّ، وَالشَّعِيرُ بِالشَّعِيرِ، وَالتَّمْرُ بِالتَّمْرِ، وَالْمِلْحُ بِالْمِلْحِ، مِثْلًا بِمِثْلٍ، سَوَاءً بِسَوَاءٍ، يَدًا بِيَدٍ، فَإِذَا اخْتَلَفَتْ هَذِهِ الْأَصْنَافُ، فَبِيعُوا كَيْفَ شِئْتُمْ، إِذَا كَانَ يَدًا بِيَدٍ».
[صحيح] - [رواه مسلم] - [صحيح مسلم: 1587]
المزيــد ...
จากอุบาดะฮ์ บิน อัศศอมิต เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า : ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
"ทองแลกกับทอง เงินแลกกับเงิน ข้าวสาลีแลกกับข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์แลกกับข้าวบาร์เลย์ อินทผลัมแลกกับอินทผลัม และเกลือแลกกับเกลือ จะต้องแลกเปลี่ยนในปริมาณที่เท่ากัน โดยไม่มีส่วนเกิน และต้องทำการแลกเปลี่ยนในทันทีแบบส่งมอบมือถึงมือ แต่หากสิ่งของที่แลกเปลี่ยนเป็นคนละประเภท ก็สามารถแลกเปลี่ยนได้ตามที่ต้องการ ตราบใดที่เป็นการส่งมอบแบบมือถึงมือทันที"
[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย มุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 1587]
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้อธิบายวิธีการซื้อขายที่ถูกต้องในประเภททรัพย์สินที่เป็นดอกเบี้ยทั้งหก ได้แก่ ทองคำ เงิน ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ อินทผลัมและเกลือ หากเป็นชนิดเดียวกัน เช่น ขายทองแลกทองและเงินแลกเงิน...ต้องเข้าเงื่อนไขสองประการ คือ: ประการแรก: ความเสมอภาคของน้ำหนัก หากมีการชั่ง เช่น ทองคำและเงิน หรือความเสมอภาคในการตวง หากมีการตวง เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ อินทผาลัม และเกลือ ประการที่สอง: ผู้ขายได้รับมูลค่าและผู้ซื้อได้รับสินค้าในช่วงเวลาที่ทำการค้าขาย หากประเภทเหล่านี้แตกต่างกัน เช่น การขายทองคำด้วยเงิน หรืออินทผาลัมกับข้าวสาลี การขายจะได้รับอนุญาตภายใต้เงื่อนไขเดียว ซึ่งก็คือผู้ขายจะได้รับมูลค่าของสินค้าและผู้ซื้อได้รับสินค้าในช่วงเวลาทำการค้าขาย มิฉะนั้นแล้ว จะถือว่าการค้าขายไม่ถูกต้อง และเข้าข่ายการกินดอกเบี้ยอันเป็นที่ต้องห้ามทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ