+ -

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رضي الله عنه أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ:
«حَقُّ الْمُسْلِمِ عَلَى الْمُسْلِمِ سِتٌّ» قِيلَ: مَا هُنَّ يَا رَسُولَ اللهِ؟، قَالَ: «إِذَا لَقِيتَهُ فَسَلِّمْ عَلَيْهِ، وَإِذَا دَعَاكَ فَأَجِبْهُ، وَإِذَا اسْتَنْصَحَكَ فَانْصَحْ لَهُ، وَإِذَا عَطَسَ فَحَمِدَ اللهَ فَسَمِّتْهُ، وَإِذَا مَرِضَ فَعُدْهُ وَإِذَا مَاتَ فَاتَّبِعْهُ».

[صحيح] - [رواه مسلم] - [صحيح مسلم: 2162]
المزيــد ...

จากอบูฮุร็อยเราะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า: ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
"สิทธิของมุสลิมที่พึงได้รับจากมุสลิมมีหกประการ” มีคนถามว่า : มันคืออะไรหรือ โอ้ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ? ท่านตอบว่า : "เมื่อท่านพบเจอเขา ก็จงให้สลามเเก่เขา, เเละเมื่อเขาเชิญชวนท่าน ก็จงตอบรับคำเชิญชวนของเขา, เเละเมื่อเขาขอคำเเนะนำจากท่าน ก็จงให้คำเเนะนำแก่เขา, เเละเมื่อเขาจาม เเล้วกล่าวสรรเสริญอัลลอฮ์ (กล่าวว่า : อัลฮัมดุลิลลาฮ์) ท่านก็จงกล่าวตอบเเก่เขา (กล่าวตัชมีตโดยกล่าวว่า : ยัรหะมุกัลลอฮ์), เเละเมื่อเขาป่วย ก็จงไปเยี่ยมเยียนเขา, เเละเมื่อเขาเสียชีวิต ก็จงติดตามศพของเขาไปยังหลุมฝังศพ"

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย มุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 2162]

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อธิบายว่า สิทธิของมุสลิมที่มีต่อพี่น้องมุสลิมด้วยกันนั้นมีอยู่ 6 ประการ ประการแรก: เมื่อพบกัน ควรกล่าวคำทักทายด้วยการพูดว่า "السلام عليكم" และเขาจะตอบกลับคำทักทายด้วยการกล่าวว่า "وعليكم السلام" ประการที่สอง: เมื่อเขาชวนไปงานหรือการเชิญใด ๆ เช่น งานเลี้ยง (وَلِيْمَة) หรือกิจกรรมอื่น ๆ ควรตอบรับคำเชิญนั้น ประการที่สาม: การให้คำแนะนำเมื่อเขาขอคำแนะนำ และอย่าละเว้นจากการพูดความจริงหรือหลอกลวงเขา ประการที่สี่: เเละเมื่อเขาจาม เเล้วกล่าวสรรเสริญอัลลอฮ์ (กล่าวว่า : อัลฮัมดุลิลลาฮ์) ท่านก็จงกล่าวตอบเเก่เขา (กล่าวตัชมีตโดยกล่าวว่า : ยัรหะมุกัลลอฮ์) และเขาจะตอบคนรับ โดยพูดว่า: "ยะฮ์ดีกุมุลลอฮ์ วะยุศลิหุบาละกุม" ความว่า: ขอพระเจ้านำทางคุณและทำให้จิตใจของคุณสบายใจ ประการที่ห้า: ไปหาเขาและเยี่ยมเขา เมื่อเขาป่วย ประการที่หก: ทำการละหมาดแก่ศพ เมื่อเขาเสียชีวิต และติดตามศพ ไปจนกว่าศพจะถูกฝัง

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. อัชชูเกาะนี (الشوكاني) กล่าวว่า: ความหมายของคำว่า "สิทธิของมุสลิม" (حق المسلم) คือ ไม่ควรละเลยในการปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ ซึ่งการปฏิบัติอาจอยู่ในลักษณะของสิ่งที่ วาญิบ หรือ มุสตะฮับ (สิ่งที่แนะนำให้ทำ) ที่ได้รับการเน้นย้ำอย่างหนักแน่นจนคล้ายคลึงกับสิ่งที่เป็นวาญิบจนไม่ควรละเลย
  2. การตอบรับคำทักทาย (رد السلام) เป็น ฟัรฎุอัยน์ (ภาระหน้าที่ส่วนบุคคล) หากผู้ที่ถูกทักทายมีเพียงคนเดียว และถ้าอยู่กันเป็นกลุ่ม การตอบรับคำทักทายคนเดียวก็ถือว่าเพียงพอสำหรับทุกคนในกลุ่มแล้ว ส่วนการเริ่มต้นกล่าวคำทักทาย (ابتداء السلام) ตามหลักการดั้งเดิมถือว่าเป็น สุนนะฮ์ (สิ่งที่แนะนำให้ทำ)
  3. การเยี่ยมผู้ป่วยถือเป็นสิทธิประการหนึ่งของเขาเหนือพี่น้องมุสลิมของเขา เพราะมันนำความสุขและความสบายใจไปสู่ใจของเขา และมันเป็นภาคบังคับที่คนเดียวทำ ถือว่าใช้ได้แล้ว
  4. การตอบรับคำเชิญถือเป็น วาญิบ (จำเป็น) ตราบใดที่คำเชิญนั้นไม่มีสิ่งที่เป็นบาป หากเป็นคำเชิญ งานเลี้ยงแต่งงาน (وَلِيمَة العُرْس) ความเห็นส่วนใหญ่ของนักปราชญ์ระบุว่าการตอบรับเป็น วาญิบ เว้นแต่จะมีอุปสรรคที่ชอบด้วยศาสนา แต่หากเป็นคำเชิญที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานเลี้ยงแต่งงาน ความเห็นส่วนใหญ่ระบุว่าการตอบรับเป็น มุสตะฮับ (สิ่งที่แนะนำให้ทำ)
  5. การกล่าวดุอาอ์ "ยัรฮัมกัลลอฮ์" (تشميت العاطس) ให้กับผู้จามเป็น วาญิบ (จำเป็น) สำหรับผู้ที่ได้ยินผู้ที่จามกล่าวว่า "อัลฮัมดุลิลลาฮ์"
  6. ความสมบูรณ์ของศาสนาอิสลามและความใส่ใจในการสร้างความเข้มแข็งให้กับสายสัมพันธ์ในสังคม ความศรัทธา และความรักระหว่างสมาชิกในสังคม
  7. คำว่า (فَسَمِّتْهُ) และในบางฉบับว่า (فَشَمِّتْهُ) ด้วย سين مهملة (ซีนไม่จุด) และ شين معجمة (ชีนมีจุด) หมายถึง การดุอาอ์เพื่อให้ได้รับความดีและบะรอกัต
  8. تشميت (ตัชมิต): มีความหมายว่า ขออัลลอฮ์ทรงให้ท่านห่างไกลจากการถูกเยาะเย้ย และทรงปกป้องท่านจากสิ่งที่จะทำให้ศัตรูของท่านเยาะเย้ยท่าน
  9. تسميت (ตัสมีต):หมายถึง ขออัลลอฮ์ทรงชี้นำท่านไปสู่เส้นทางที่เที่ยงตรง
การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาสวาฮีลี อะซามีส ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาโรมาเนีย
ดูการแปล
ดูเพิ่มเติม