+ -

عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَمْرٍو رضي الله عنهما قال: قال رَسولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ:
«أَرْبَعٌ مَنْ كُنَّ فِيهِ كَانَ مُنَافِقًا خَالِصًا، وَمَنْ كَانَتْ فِيهِ خَلَّةٌ مِنْهُنَّ كَانَتْ فِيهِ خَلَّةٌ مِنْ نِفَاقٍ حَتَّى يَدَعَهَا: إِذَا حَدَّثَ كَذَبَ، وَإِذَا عَاهَدَ غَدَرَ، وَإِذَا وَعَدَ أَخْلَفَ، وَإِذَا خَاصَمَ فَجَرَ».

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح مسلم: 58]
المزيــد ...

จากท่านอับดุลลอฮ์ บิน อัมร์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวว่า : ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :
"สี่ประการ ผู้ใดที่มีมันทั้งหมดในตัวเขา เขาคือมุนาฟิกแท้ และผู้ใดที่ตัวเขามีลักษณะหนึ่งข้อ เขาก็มีลักษณะของการเป็นมุนาฟิกหนึ่งข้อจนกว่าเขาจะละทิ้งมันไป(นั้นคือ) : เมื่อพูดจะโกหก, เมื่อทำสัญญาจะหักหลัง, เมื่อให้สัญญาจะผิดคำพูด, และเมื่อทะเลาะจะใช้วิธีที่รุนแรง"

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 58]

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เตือนถึงลักษณะสี่ประการหากมีอยู่รวมกันในมุสลิม จะทำให้เขามีความคล้ายคลึงกับคนหน้าไว้หลังลอกอย่างมากโดยเฉพาะในกรณีที่ลักษณะเหล่านี้มีอยู่ในตัวเขาอย่างเด่นชัด แต่หากมีเพียงเล็กน้อยก็ไม่ถือว่ารวมอยู่ในกลุ่มนี้ และลักษณะทั้งสี่นั้นคือ
ประการแรก: เมื่อเขาพูด เขาจงใจโกหกและไม่ซื่อสัตย์ในคำพูดของเขา
ประการที่สอง: เมื่อเขาทำพันธสัญญา เขาก็มิได้ปฏิบัติตามและทรยศต่อเจ้าของ
ประการที่สาม: เมื่อเขาให้สัญญา เขาจะไม่ปฏิบัติตามและผิดสัญญา
ประการที่สี่: เมื่อเขาทะเลาะวิวาทกับใคร การทะเลาะวิวาทของเขารุนแรง ใช้กลอุบายในการตอบโต้และล้มล้างข้อเท็จจริง และพูดในสิ่งที่ไม่จริงและโกหก
แท้จริงหน้าไว้หลังหลอกนั้น คือการแสดงสิ่งที่ขัดแย้งกับสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ข้างใน และความหมายนี้มีอยู่ในบุคคลที่มีคุณสมบัติเหล่านี้กล่าวคือ หน้าไว้หลังหลอกของเขาใช้กับผู้ที่พูดกับเขา สัญญากับเขา ไว้วางใจเขา โต้เถียงกับเขา และทำสัญญากับเขา จากหมู่คน ไม่ใช่ว่าเขาเป็นคนเสแสร้งในศาสนา ที่แสดงตนว่าเป็นมุสลิมแต่ซ่อนความปฏิเสธในใจไว้ และใครก็ตามที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งจากคุณลักษณะข้างต้น เขาก็เป็นผู้ที่มีคุณลักษณะหน้าไว้หลังหลอกจนกว่าเขาจะละทิ้งสิ่งเหล่านั้น

การแปล: อังกฤษ อูรดู อินโดนีเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี ปุชตู อะซามีส ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาคีร์กีซ ภาษาเนปาล ภาษาโรมาเนีย ภาษามาลากาซี
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. อธิบายถึงสัญญาณบางอย่างของคนหน้าไว้หลังหลอกเป็นการเตือนและป้องกันไม่ให้ตกลงไปในพฤติกรรมเหล่านี้
  2. ความหมายในหะดีษก็คือ คุณลักษณะเหล่านี้เป็นนิสัยของคนหน้าไว้หลังหลอก และบุคคลที่มีคุณลักษณะเหล่านี้นั้นก็คล้ายคลึงกับพวกเขาในแง่พฤติกรรม และปฏิบัติตามนิสัยของพวกเขา แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาเป็นผู้เสแสร้งที่แสดงตนว่าเป็นมุสลิมแต่ซ่อนความไม่เชื่อไว้ในใจ และมีผู้กล่าวว่าหะดีษนี้หมายถึงผู้ที่มีลักษณะเหล่านี้เป็นส่วนใหญ่ และไม่ใส่ใจในเรื่องเหล่านี้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็มีแนวโน้มที่จะมีความเชื่อที่เสื่อมเสีย
  3. อัลฆอซาลีย์ กล่าวว่า: ต้นกำเนิดของศาสนาถูกจำกัดอยู่เพียง 3 สิ่งเท่านั้น คือ คำพูด การกระทำ และเจตนา เขาชี้ให้เห็นถึงความเสื่อมทรามของวาจาด้วยการโกหก การทุจริตในการกระทำด้วยการทรยศ และการทุจริตด้วยเจตนาโดยการกลับคำ เพราะการผิดสัญญาจะไม่น่าอดสูเว้นแต่ความตั้งใจที่จะทำเช่นนั้นจะเทียบได้กับคำสัญญา แต่หากเขาตั้งใจแล้วมีอุปสรรคเกิดขึ้นกับเขาหรือมีความคิดเห็นปรากฏขึ้น เขาก็ไม่มีความหน้าซื่อใจคดในรูปแบบใด ๆ ในส่วนของเขา
  4. หน้าไว้หลังหลอกนั้นมีสองประเภท: ด้านความเชื่อ มีผลให้หลุดออกจากความศรัทธา นั้นก็คือการแสดงออกว่าเป็นอิสลามแต่ปกปิดการปฏิเสธอยู่ข้างใน ด้านการปฏิบัติ ประเภทนี้คล้ายกับพวกหน้าไว้หลังหลอกในด้านนิสัย ประเภทนี้ไม่มีผลให้หลุดออกจากการศรัทธา เว้นแต่ว่า เป็นหนึ่งในบาปใหญ่
  5. อิบนุ ฮาญัร กล่าวว่า: บรรดานักวิชาการได้มีมติอย่างเป็นเอกฉันท์ว่าใครก็ตามที่ศรัทธาด้วยหัวใจและลิ้นของเขา และปฏิบัติตามคุณสมบัติเหล่านั้น เขาจะไม่ถูกตัดสินว่าเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา และเขาก็ไม่ใช่คนหน้าไว้หลังหลอกที่จะอยู่ในนรกตลอดไปด้วย
  6. อัล-นะวาวีย์ กล่าวว่า : นักวิชาการกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า: กลุ่มที่หมายถึงในหะดีษนี้คือ พวกมุนาฟิกที่อยู่ในสมัยของท่านนบีมุฮัมหมัดซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม พวกเขาแสดงออกว่ามีศรัทธา แต่กลับโกหก ได้รับความไว้วางใจในศาสนาแต่กลับทรยศ สัญญาในเรื่องการช่วยเหลือศาสนาแต่กลับผิดสัญญา และประพฤติไม่เป็นธรรมในเวลาที่มีข้อพิพาท
ดูเพิ่มเติม