+ -

عن أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ: قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ:
«تَسَحَّرُوا، فَإِنَّ فِي السَّحُورِ بَرَكَةً».

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح البخاري: 1923]
المزيــد ...

จากอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า: ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
"พวกเจ้าทั้งหลายจงรับประทานอาหารซะฮูรเถิด เพราะว่ามันมีความจำเริญอยู่ในนั้น"

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์อัลบุคอรีย์ - 1923]

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กำชับให้มีการทานซะฮูร คือการรับประทานอาหารในตอนท้ายของเวลากลางคืนเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการถือศีลอด เพราะมันมีความจำเริญจากผลบุญและการตอบแทนอันยิ่งใหญ่อยู่ในนั้น การตื่นขึ้นตอนท้ายของเวลากลางคืนเพื่อขอดุอาอฺ เสริมกำลังตัวเองในการอดอาหาร กระตือรือร้นกับมันและลดความยากลำบากในการถือศีลอด

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษาสวาฮีลี อะซามีส ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. สนับสนุนให้รับประทานซะฮูร และปฏิบัติตามคำสั่งทางศาสนบัญญัติ โดยการลงมือปฏิบัติจริง
  2. อิบนุ ฮาญาร์ กล่าวในฟัตฮุลบารีย์ ว่า: ความจำเริญในการทานซะฮูรเกิดขึ้นได้หลายวิธี นั้นคือ การทำตามซุนนะฮ์ และทำให้แตกต่างกับชาวคัมภีร์ การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการทำอิบาดะฮ์ เพิ่มความกระตือรือร้น และการปกป้องพฤติกรรมที่ไม่ดีที่กระตุ้นให้เกิดความหิวโหย เป็นเหตุในการบริจาคทานแก่ผู้ที่ขอ ณ เวลานั้น หรือร่วมรับประทานอาหารร่วมกับเขา และเป็นเหตุให้เกิดการรำลึกและการวิงวอนขอในเวลาที่เต็มไปด้วยการคาดหวังในการตอบรับ และเป็นการย้ำเตือนในการตั้งเจตนาในการถือศีลอดสำหรับผู้ที่ลืมตั้งเจตนาก่อนนอน
  3. การสอนที่ดีของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในขณะที่เขาผสมผสานข้อตัดสินเข้ากับวิทยปัญญา เพื่อให้เข้าใจอย่างกระจ่าง และรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของกฎหมายชารีอะห์
  4. อิบนุ ฮาญาร์ กล่าวว่า: ซะฮูรสำเร็จได้ด้วยอาหารและเครื่องดื่มในปริมาณน้อยที่สุดที่บุคคลบริโภคมัน