عَنْ أَبِي سَعِيدٍ الْخُدْرِيِّ رضي الله عنه قَالَ: قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ:
«إِذَا شَكَّ أَحَدُكُمْ فِي صَلَاتِهِ، فَلَمْ يَدْرِ كَمْ صَلَّى ثَلَاثًا أَمْ أَرْبَعًا، فَلْيَطْرَحِ الشَّكَّ، وَلْيَبْنِ عَلَى مَا اسْتَيْقَنَ، ثُمَّ يَسْجُدُ سَجْدَتَيْنِ قَبْلَ أَنْ يُسَلِّمَ، فَإِنْ كَانَ صَلَّى خَمْسًا شَفَعْنَ لَهُ صَلَاتَهُ، وَإِنْ كَانَ صَلَّى إِتْمَامًا لِأَرْبَعٍ كَانَتَا تَرْغِيمًا لِلشَّيْطَانِ».
[صحيح] - [رواه مسلم] - [صحيح مسلم: 571]
المزيــد ...
จากท่านอบูสะอีด อัลคุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า: ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
"หากคนใดคนหนึ่งในหมู่พวกเจ้าเกิดสงสัยในการละหมาดของเขา และเขาไม่รู้ว่าเขาได้ละหมาดไปกี่รอกะอะฮ์แล้ว สามหรือสี่ ก็จงละทิ้งสิ่งที่สงสัยนั้น และจงยึดสิ่งที่เขามั่นใจ แล้วจงสุญูดสองครั้ง ก่อนการให้สลาม หากปรากฎว่าเขาได้ละหมาดห้ารอกะอะฮ์ การสุญูดสองครั้งนั้นถือว่าการละหมาดนั้นเป็นคู่(เป็นหก ก็อยู่ในสถานะเป็นการละหมาดครบสี่ แต่เพิ่มซุนนะฮ์ไปอีกสองรอกะอะฮ์) และหากเขาละหมาดสี่รอกะอะฮ์จริงๆ การสุญูดสองครั้งนั้นถือเป็นการหยามต่อชัยฎอน"
[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย มุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 571]
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อธิบายว่าหากใครก็ตามที่ละหมาดแล้วเกิดการสงสัยในละหมาดนั้น และไม่รู้ว่าเขาละหมาดกี่รอกะอะฮ์ สามหรือสี่? ให้เขาตัดเลขสงสัยที่เพิ่มนั้นออกไป และไม่ยึดกับเลขที่เพิ่มขี้นนั้น ดังนั้นเลขสามคือเลขที่มั่นใจ ดังนั้นจำเป็นสำหรับเขาต้องละหมาดรอกะอะฮ์ที่สี่ จากนั้นจึงสุญูดสองครั้งก่อนที่จะให้สลาม
ถ้าการละหมาดของเขานั้นสี่รอกะอะฮ์จริงๆ มันจะกลายเป็นห้ารอกะอะฮ์เมื่อบวกกับหนึ่งรอกะอะฮ์ที่เพิ่มขี้น และการสุญูดซะฮ์วีย์นั้นเท่ากับหนึ่งรอกะอะฮ์ ทำให้จำนวนรอกะอะฮ์กลายเป็นจำนวนคู่ไม่ใช่จำนวนคี่ และหากการละหมาดของเขาที่รวมกับอีกหนึ่งรอกะอะฮ์เป็นสี่รอกะอะฮ์ ดังนั้นก็ทำให้เขาได้ละหมาดที่สมบูรณ์โดยไม่มีการเพิ่มหรือขาดแต่อย่างใด
การสุญูดซะฮ์วีย์สองครั้งนั้นถือเป็นการทำให้ชัยฏอนต่ำต้อยและเป็นการเอาชนะมัน และทำให้มันท้อและห่างไกลจากเป้าหมายที่มันต้องการ เพราะมันทำให้การละหมาดของผู้อื่นเกิดความสับสน และพยายามทำให้การละหมาดนั้นเกิดความเสียหาย และการละหมาดของบุคคลจะสมบูรณ์ได้เมื่อเขาปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮ์ ตะอาลา ด้วยการสุญูด ซึ่งเป็นสิ่งที่อิบลีสได้ฝ่าฝืน เมื่อครั้นที่มันปฏิเสธที่จะเชื่อฟังอัลลอฮ์ในการสุญูดต่ออาดัม