+ -

عَنْ ‌حِطَّانَ بْنِ عَبْدِ اللهِ الرَّقَاشِيِّ قَالَ: صَلَّيْتُ مَعَ ‌أَبِي مُوسَى الْأَشْعَرِيِّ صَلَاةً، فَلَمَّا كَانَ عِنْدَ الْقَعْدَةِ قَالَ رَجُلٌ مِنَ الْقَوْمِ: أُقِرَّتِ الصَّلَاةُ بِالْبِرِّ وَالزَّكَاةِ، قَالَ: فَلَمَّا قَضَى أَبُو مُوسَى الصَّلَاةَ وَسَلَّمَ انْصَرَفَ فَقَالَ: أَيُّكُمُ الْقَائِلُ كَلِمَةَ كَذَا وَكَذَا؟ قَالَ: فَأَرَمَّ الْقَوْمُ، ثُمَّ قَالَ: أَيُّكُمُ الْقَائِلُ كَلِمَةَ كَذَا وَكَذَا؟ فَأَرَمَّ الْقَوْمُ، فَقَالَ: لَعَلَّكَ يَا حِطَّانُ قُلْتَهَا؟ قَالَ: مَا قُلْتُهَا، وَلَقَدْ رَهِبْتُ أَنْ تَبْكَعَنِي بِهَا، فَقَالَ رَجُلٌ مِنَ الْقَوْمِ: أَنَا قُلْتُهَا، وَلَمْ أُرِدْ بِهَا إِلَّا الْخَيْرَ، فَقَالَ أَبُو مُوسَى: أَمَا تَعْلَمُونَ كَيْفَ تَقُولُونَ فِي صَلَاتِكُمْ؟ إِنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ خَطَبَنَا فَبَيَّنَ لَنَا سُنَّتَنَا وَعَلَّمَنَا صَلَاتَنَا، فَقَالَ:
«إِذَا صَلَّيْتُمْ فَأَقِيمُوا صُفُوفَكُمْ، ثُمَّ لِيَؤُمَّكُمْ أَحَدُكُمْ فَإِذَا كَبَّرَ فَكَبِّرُوا، وَإِذْ قَالَ: {غَيْرِ الْمَغْضُوبِ عَلَيْهِمْ وَلا الضَّالِّينَ} [الفاتحة: 7]، فَقُولُوا: آمِينَ، يُجِبْكُمُ اللهُ، فَإِذَا كَبَّرَ وَرَكَعَ فَكَبِّرُوا وَارْكَعُوا، فَإِنَّ الْإِمَامَ يَرْكَعُ قَبْلَكُمْ، وَيَرْفَعُ قَبْلَكُمْ»، فَقَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: «فَتِلْكَ بِتِلْكَ، وَإِذَا قَالَ: سَمِعَ اللهُ لِمَنْ حَمِدَهُ، فَقُولُوا: اللَّهُمَّ رَبَّنَا لَكَ الْحَمْدُ، يَسْمَعِ اللهُ لَكُمْ، فَإِنَّ اللهَ تَبَارَكَ وَتَعَالَى قَالَ عَلَى لِسَانِ نَبِيِّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: سَمِعَ اللهُ لِمَنْ حَمِدَهُ، وَإِذَا كَبَّرَ وَسَجَدَ فَكَبِّرُوا وَاسْجُدُوا، فَإِنَّ الْإِمَامَ يَسْجُدُ قَبْلَكُمْ وَيَرْفَعُ قَبْلَكُمْ»، فَقَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: «فَتِلْكَ بِتِلْكَ، وَإِذَا كَانَ عِنْدَ الْقَعْدَةِ فَلْيَكُنْ مِنْ أَوَّلِ قَوْلِ أَحَدِكُمُ: التَّحِيَّاتُ الطَّيِّبَاتُ الصَّلَوَاتُ لِلهِ، السَّلَامُ عَلَيْكَ أَيُّهَا النَّبِيُّ وَرَحْمَةُ اللهِ وَبَرَكَاتُهُ، السَّلَامُ عَلَيْنَا وَعَلَى عِبَادِ اللهِ الصَّالِحِينَ، أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللهُ وَأَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُولُهُ».

[صحيح] - [رواه مسلم] - [صحيح مسلم: 404]
المزيــد ...

จากท่านหิฏฏอน บิน อับดุลลอฮ์ อัรเราะกอชีย์ กล่าวว่า: ครั้งหนึ่ง ฉันได้ทำการละหมาดกับท่านอบูมูซา อัลอัชอารีย์ และเมื่อเขาอยู่ในขณะตะชะฮุด มีชายคนหนึ่งจากชาวบ้าน กล่าวว่า “การละหมาดเชื่อมโยงกับการทำความดีและซะกาต” เมื่ออบูมูซา เสร็จสิ้นการละหมาดและทำการให้สลาม เขาก็หันไปยังผู้คน และกล่าวว่า "ใครในหมู่พวกเจ้าที่พูดเช่นนั้น" ผู้คนเหล่านั้นต่างก็เงียบ จากนั้นเขากล่าวอีกว่า "ใครในหมู่พวกเจ้าที่พูดด้วยถ้อยคำเช่นนั้น" ผู้คนเหล่านั้นก็เงียบ ดังนั้นเขาจึงกล่าวว่า “โอ้ หิฏฏอน บางทีอาจเป็นเจ้า เป็นคนที่พูดมันขึ้นมา หิฏฏอนกล่าวว่า: "ไม่ ฉันไม่ได้พูด ฉันกลัวว่าท่านจะรำคาญฉันในเรื่องนี้ จากนั้นมีคนหนึ่งในกลุ่มนั้น กล่าวว่า “ฉันเป็นคนที่พูดสิ่งนี้ และในการนี้ ฉันไม่ได้มุ่งหมายสิ่งใดนอกจากความดีเท่านั้น อบูมูซากล่าวว่า: "เจ้าไม่รู้หรือว่า เจ้าต้องกล่าวอะไรในการละหมาดของเจ้า แท้จริงแล้วท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทำการบรรยายให้แก่เรา ได้อธิบายให้แก่เราถึงแนวทางของเรา และสอนเราถึงวิธีการละหมาด โดยท่านกล่าวว่า
“เมื่อพวกเจ้าต้องการละหมาด ก็จงจัดแถวให้ตรง และให้คนหนึ่งนำพวกเจ้าละหมาด และเมื่อเขากล่าวตักบีร พวกเจ้าก็จงกล่าวตักบีรตาม เมื่อเขาอ่าน {ฆอยริล มัฆฎูบิอะลัยฮิม วะลัฎฎอลลีน} [ซูเราะฮ์ อัลฟาติฮะห์ : 7] พวกเจ้าจงกล่าว “อามีน” และอัลลอฮ์จะตอบรับพวกเจ้า และเมื่อเขากล่าว ตักบีรและทำการรูกู๊วะ พวกเจ้าก็จง ตักบีรและทำการรูกู๊วะ เพราะแท้จริงผู้เป็นอิหม่ามนั้นจะทำการรูกู๊วะก่อนพวกเจ้า และลุกขึ้นก่อนพวกเจ้า” จากนั้น ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “สิ่งนี้ตามด้วยสิ่งนั้น และเมื่อเขากล่าวว่า “สะมิอัลลอฮุ ลิมัน หะมิดะฮ์” (อัลลอฮ์ทรงฟังผู้ที่สรรเสริญพระองค์) พวกเจ้าก็จงกล่าวว่า “อัลลอฮุม มะร๊อบบะนา วะลากัลฮัมด์” (โอ้อัลลอฮ์ พระเจ้าของเรา การสรรเสริญจงมีแด่พระองค์) และอัลลอฮ์ จะได้ยินพวกเจ้า เพราะอัลลอฮ์ผู้ทรงอำนาจ ทรงตรัสผ่านการกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า “อัลลอฮ์ทรงฟังผู้ที่สรรเสริญพระองค์” และเมื่อเขากล่าวตักบีรและทำการสุญูด พวกเจ้าจงกล่าวตักบีรและทำการสุญูดด้วย เพราะแท้จริงผู้เป็นอิหม่ามนั้นจะสุญูดก่อนพวกเจ้า และลุกขึ้นก่อนพวกเจ้า” จากนั้น ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “สิ่งนี้ตามด้วยสิ่งนั้น” และเมื่อเขานั่งเพื่อตะชะฮ์ฮุด คำพูดแรกของทุกคนในหมู่พวกท่านคือ: “อัตตะหิยยาตุต ต็อยยิบาตุศ เศาะละวาตุ ลิลลาฮิ อัสสลามุ อะลัยกะ อัยยูฮันนาบิยู วะเราะห์ มะตุลลอฮิ วะบะรอกาตุฮ์ อัสสลามุ อะลัยนา วะอะลา อิบาดิลลาฮิศศอลิหีน อัชฮะดุ อันลา อิลาฮะ อัลลัลลอฮ์ วะอัชฮะดุอันนะมุฮัมมะดัน อับดุฮุ วะเราะสูลุฮุ (การทักทายที่ดี การละหมาด ทั้งหมดเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ขอความสันติจงมีแด่ท่าน โอ้ท่านนบี ขอความเมตตาและความจำเริญจากอัลลอฮ์ ขอความสันติจงมีแด่เราและบ่าวผู้ที่ศอลิห์ของอัลลอฮ์ทุกท่าน ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรแก่การเคารพสักการะอย่างแท้จริงนอกจากอัลลอฮ์ และฉันขอปฏิญาณตนว่ามูฮัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์)

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย มุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 404]

คำอธิบาย​

ครั้งหนึ่งท่านอบูมูซา อัลอัชอารีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้ทำการละหมาด และเมื่อเขาอยู่ในขณะตะชะฮุด มีชายที่ร่วมละหมาดคนหนึ่งที่อยู่ด้านหลังเขากล่าวว่า “การละหมาดถูกกล่าวถึงในอัลกุรอานควบกับการทำความดีและซะกาต” เมื่ออบูมูซา เสร็จสิ้นการละหมาด เขาก็หันไปยังมะมูม และถามพวกเขาว่า "ใครในหมู่พวกเจ้าที่พูดว่า“การละหมาดถูกกล่าวถึงในอัลกุรอานควบกับการทำความดีและซะกาต?!" ผู้คนเหล่านั้นต่างก็เงียบ ไม่มีใครพูดแม้คนเดียว จากนั้นเขาถามอีกครั้ง เมื่อไม่มีใครออกมายอมรับ อบูมูซา เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ จึงกล่าวว่า “หรือว่าเป็นเจ้า โอ้ หิฏฏอน ที่เป็นคนพูดประโยคนั้น เพราะความใจกล้า ความใกล้ชิด และการสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับเขา เป็นบุคคลที่ไม่อาจเกิดผลกระทบอะไรกับการกล่าวหานั้น เพื่อให้ผู้ที่เป็นตัวจริงออกมายอมรับ แล้วท่าน หิฏฏอนก็ได้ปฏิเสธไป และกล่าวว่า "ฉันกลัวว่าท่านจะตำหนิฉันโดยเกิดจากการคิดไปเองของท่านว่าฉันเป็นคนพูด" จากนั้นมีคนหนึ่งในกลุ่มนั้น กล่าวว่า “ฉันเป็นคนที่พูดประโยคนั้นเอง และในการนี้ ฉันไม่ได้มุ่งหมายสิ่งใดจากคำพูดนี้นอกจากความดีเท่านั้น ท่านอบูมูซาจึงกล่าวเพื่อเป็นการสอนเขาว่า: "เจ้าไม่รู้หรือว่าเจ้าต้องกล่าวอะไรในละหมาดของเจ้า?! เป็นคำพูดที่แสดงถึงการไม่เห็นด้วยจากท่าน จากนั้นท่านอบูมูซา ได้เล่าว่าแท้จริงแล้วท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทำการบรรยายให้แก่พวกเขา ได้อธิบายให้แก่พวกเขาถึงหลักปฏิบัติตามศาสนาของพวกเขา และสอนพวกเขาถึงวิธีการละหมาดของพวกเขา โดยท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
“เมื่อพวกเจ้าต้องการละหมาด ก็จงจัดแถวให้ตรง และให้คนหนึ่งนำพวกเจ้าละหมาด และเมื่อผู้เป็นอิหม่ามกล่าวตักบีเราะตุลอิห์รอม พวกเจ้าก็จงตักบีรตามเขา เมื่อเขาอ่านฟาติหะฮ์ และถึงโองการที่ว่า {ฆอยริล มัฆฎูบิอะลัยฮิม วะลัฎฎอลลีน} [ซูเราะฮ์ อัลฟาติฮะห์ : 7] พวกเจ้าจงกล่าว “อามีน" หากพวกเจ้าได้กระทำอย่างนั้นแล้ว แน่นอนอัลลอฮ์จะตอบรับการดุอาอ์ของพวกเจ้า และเมื่อเขากล่าวตักบีรและทำการรูกู๊วะ พวกเจ้าก็จงตักบีรและทำการรูกู๊วะ เพราะแท้จริงผู้เป็นอิหม่ามนั้นต้องทำการรูกู๊วะก่อนพวกเจ้าและลุกขึ้นก่อนพวกเจ้า ดังนั้นจงอย่าล้ำหน้าเขา” เนื่องจากขณะที่อิหม่ามนำหน้าพวกเจ้าในการรูกู๊วะนั้น จะถูกบังคับให้พวกเจ้าทำการรูกู๊วะหลังจากที่เขาช่วงเวลาหนึ่ง ดังนั้นช่วงเวลาขณะนั้นตามด้วยช่วงเวลานั้น และมันทำความยาวของการรูกู๊วะของมะมูมจึงเท่ากับความยาวของการทำการรูกู๊วะของอิหม่าม และเมื่ออิหม่ามกล่าวว่า “สะมิอัลลอฮุ ลิมัน หะมิดะฮ์” (อัลลอฮ์ทรงฟังผู้ที่สรรเสริญพระองค์) พวกเจ้าก็จงกล่าวว่า “อัลลอฮุมมะ ร็อบบะนา วะลากัลฮัมด์” (โอ้อัลลอฮ์ พระเจ้าของเรา การสรรเสริญจงมีแด่พระองค์) เมื่อผู้ละหมาดได้กล่าวดุอาอ์นั้นแล้ว แท้จริงอัลลอฮ์ทรงได้ยินดุอาอ์ของพวกเขา เพราะอัลลอฮ์ผู้ทรงอำนาจ ทรงตรัสผ่านการกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า “อัลลอฮ์ทรงฟังผู้ที่สรรเสริญพระองค์” และเมื่อเขากล่าวตักบีรและทำการสุญูด ก็จำเป็นสำหรับผู้เป็นมะมูมกล่าวตักบีรและทำการสุญูดตาม เพราะแท้จริงผู้เป็นอิหม่ามนั้นจะสุญูดก่อนพวกเขา และลุกขึ้นก่อนพวกเขา” ดังนั้นช่วงเวลาขณะนั้นตามด้วยช่วงเวลานั้น และมันทำความยาวของการสุญูดของมะมูมจึงเท่ากับความยาวของการสุญุดของอิหม่าม และเมื่อเขานั่งเพื่อตะชะฮ์ฮุด คำกล่าวแรกของผู้ละหมาดคือ: “อัตตะหิยยาตุต ตอยยิบาตุศ เศาะละวาตุ ลิลลาฮิ" ดังนั้นการครอบครอง ความเป็นถาวร และความยิ่งใหญ่ทั้งหมดนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ และการละหมาดห้าเวลาก็เพื่ออัลลอฮ์ "อัสสลามุ อะลัยกะ อัยยูฮันนาบิยู วะเราะห์ มะตุลลอฮิ วะบะรอกาตุฮ์ อัสสลามุ อะลัยนา วะอะลา อิบาดิลลาฮิศศอลิหีน" จงขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮ์ซึงความปลอดภัยจากทุกสิ่งที่ไม่ดี ข้อบกพร่องต่างๆ โรคร้ายต่างๆ และเราเจาะจงแด่ท่านนบีของเราเป็นการเฉพาะในการขอสลาม จากนั้นขอแด่ตัวเราและตามด้วยขอแด่บรรดาบ่าวของอัลลอฮ์ที่ศอลิห์ทั้งหลายที่พวกเขาดำรงไว้ในสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงใช้พวกเขาในเรื่องสิทธิ์ของอัลลอฮ์และสิทธิ์ของมนุษย์ จากนั้นเราขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรแก่การเคารพสักการะอย่างแท้จริงนอกจากอัลลอฮ์ และเราขอปฏิญาณตนว่ามูฮัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์.

การแปล: อังกฤษ อูรดู อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ตุรกี บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี ภาษาทมิฬ พม่า ปุชตู อะซามีส อัลบาเนียน ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาคีร์กีซ ภาษาเนปาล ภาษาโยรูบา ภาษาลิทัวเนีย ภาษาดารี ภาษาเซอร์เบีย คำแปลภาษาโซมาเลีย คำแปลภาษากินยาร์วันดา ภาษาโรมาเนีย ภาษาเช็ก الموري ภาษามาลากาซี ภาษาอิตาเลี่ยน คำแปลภาษาโอโรโม ภาษากันนาดา الولوف ภาษาอาเซอร์ไบจาน ภาษายูเครน الجورجية
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. อธิบายถึงสำนวนบางสำนวนของบทตะชะฮ์ฮุด
  2. อิริยาบถการกระทำและคำพูดในการการละหมาดนั้นต้องมีแหล่งที่มาอย่างถูกต้องจากท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังนั้นจึงไม่อนุญาตให้ใครสร้างคำพูดหรือการกระทำในละหมาดที่ไม่มีบันทึกในซุนนะฮ์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมอย่างถูกต้อง
  3. ไม่อนุญาตให้ทำก่อนอิหม่ามหรือช้ากว่า และที่ควรทำคือ ให้มะมูมทำตามอิหม่ามในอิริยาบถต่างๆ
  4. เป็นการกล่าวถึงการให้ความสำคัญของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมในการเผยแผ่ศาสนาและสอนประชาชาติของท่านเกี่ยวกับหลักการต่างๆ ทางศาสนา
  5. ผู้เป็นอิหม่ามคือต้นแบบสำหรับผู้เป็นมะมูม ดังนั้นไม่อนุญาตทำสิ่งใดก่อนอิหม่ามในการละหมาด และไม่อนุญาตทำพร้อมกัน หรือช้ากว่าอิหม่ามมาก แต่ให้ตามหลังจากที่มั่นใจว่าอิหม่ามได้เข้าสู่การกระทำที่ต้องทำแล้ว และที่เป็นซุนนะฮ์คือการทำตามอิหม่ามในทุกการกระทำของการละหมาด
  6. บัญญัติให้มีการตั้งแถวในการละหมาด
ดูเพิ่มเติม