+ -

عَنْ عُبَادَةَ بْنِ الصَّامِتِ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ، وَكَانَ شَهِدَ بَدْرًا، وَهُوَ أَحَدُ النُّقَبَاءِ لَيْلَةَ العَقَبَةِ: أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ، وَحَوْلَهُ عِصَابَةٌ مِنْ أَصْحَابِهِ:
«بَايِعُونِي عَلَى أَلَّا تُشْرِكُوا بِاللَّهِ شَيْئًا، وَلاَ تَسْرِقُوا، وَلاَ تَزْنُوا، وَلاَ تَقْتُلُوا أَوْلاَدَكُمْ، وَلاَ تَأْتُوا بِبُهْتَانٍ تَفْتَرُونَهُ بَيْنَ أَيْدِيكُمْ وَأَرْجُلِكُمْ، وَلاَ تَعْصُوا فِي مَعْرُوفٍ، فَمَنْ وَفَى مِنْكُمْ فَأَجْرُهُ عَلَى اللَّهِ، وَمَنْ أَصَابَ مِنْ ذَلِكَ شَيْئًا فَعُوقِبَ فِي الدُّنْيَا فَهُوَ كَفَّارَةٌ لَهُ، وَمَنْ أَصَابَ مِنْ ذَلِكَ شَيْئًا ثُمَّ سَتَرَهُ اللَّهُ فَهُوَ إِلَى اللَّهِ، إِنْ شَاءَ عَفَا عَنْهُ وَإِنْ شَاءَ عَاقَبَهُ» فَبَايَعْنَاهُ عَلَى ذَلِكَ.

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح البخاري: 18]
المزيــد ...

จากอุบาดะฮ์ บิน อัศศอมิต เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ผู้ซึ่งได้ร่วมสงครามบะดัร และเป็นหนึ่งในผู้นำในคืนอะเกาะบะอ์ กล่าวว่า: ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าว ขณะที่รอบตัวเขาก็มีกลุ่มสาวกของเขา ว่า:
"พวกเจ้าจงให้คำมั่นสัญญาแก่ฉันว่าจะไม่ตั้งภาคีใดๆ กับอัลลอฮ์ ไม่ลักขโมย ไม่ผิดประเวณี ไม่ฆ่าลูกหลาน ไม่ใส่ร้ายแก่กันทั้งต่อหน้าและลับหลัง ไม่ฝ่าฝืนในเรื่องการทำความดี บุคคลใดในพวกเจ้าได้สัญญาแล้ว จะได้รับการตอบแทนสิ่งที่ดีจากอัลลอฮ์ และผู้ใดได้กระทำผิดข้อหนึ่งข้อใด อัลลอฮ์จะลงโทษบนโลกนี้นั่นคือการลบล้างบาปให้แก่เขา และผู้ใดได้กระผิดข้อหนึ่งข้อใดแล้วอัลลอฮ์ปกปิดไว้ เป็นเรื่องของอัลลอฮ์ หากพระองค์ทรงประสงค์พระองค์ก็จะอภัย หากพระองค์ทรงประสงค์พระองค์ก็จะลงโทษ" พวกเราจึงทำการให้คำมั่นสัญญากับเขาถึงสิ่งเหล่านั้น

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์อัลบุคอรีย์ - 18]

คำอธิบาย​

อุบาดะฮ์ บิน อัศศอมิต เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้ร่วมสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่บะดัร และเขาเป็นผู้นำกลุ่มชนของเขาที่ออกมาให้คำมั่นสัญญาว่าจะจงรักภักดีที่จะสนับสนุนท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในคืนอะเกาะบะฮ์ ณ ทุ่งมีนา - เมื่อท่านศาสนทูตอยู่ในนครมักกะฮ์ก่อนจะอพยพไปยังมะดีนะฮ์ - ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กำลังนั่งอยู่ในหมู่สาวกของเขา เขาขอให้พวกเขาเหล่านั้นสัญญาบางอย่างแก่เขา ว่า: ประการแรก: พวกเขาไม่ตั้งภาคีใด ๆ ในการเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์ แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม ประการที่สอง: อย่าได้ขโมย ประการที่สาม: ไม่ล่วงประเวณี ประการที่สี่: ไม่ฆ่าลูก ๆ ของพวกเขา; ลูกผู้ชายที่กลัวความยากจน หรือลูกผู้หญิงที่กลัวความอับอาย ประการที่ห้า: ไม่ใส่ร้ายต่อกันทั้งด้วยมือและเท้า เนื่องจากการกระทำส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับสองอวัยวะนั้น แม้ว่าอวัยวะที่เหลือจะมีส่วนร่วมก็ตาม ประการที่หก: ไม่ฝ่าฝืนท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในสิ่งที่ดี ใครก็ตามในหมู่พวกเขาที่ยึดมั่นในสัญญาและปฏิบัติตามนั้น รางวัลของเขาจะอยู่ที่อัลลอฮ์ และใครก็ตามที่กระทำสิ่งหนึ่งตามที่ได้ถูกกล่าวถึง นอกเหนือจากการตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ จะถูกลงโทษในโลกนี้ด้วยการลงโทษที่ถูกกำหนดแก่เขาแล้ว มันเป็นการไถ่บาปแก่เขา และบาปนั้นก็จะถูกริบไป และใครก็ตามที่กระทำการนั้นแล้วอัลลอฮ์ก็ทรงปกปิดเขาไว้ เรื่องของเขาก็ขึ้นอยู่กับอัลลอฮ์ หากพระองค์ทรงประสงค์ พระองค์ก็จะทรงอภัยโทษ และหากพระองค์ประสงค์ พระองค์ก็จะทรงลงโทษเขา บรรดาผู้ที่อยู่ในวงสนทนานนั้นได้ให้คำมั่นสัญญาแก่ท่านนบี ถึงสิ่งเหล่านั้น

การแปล: อินโดนีเซีย ภาษาสิงหล ภาษาเวียดนาม ภาษาเฮาซา ภาษาสวาฮีลี อะซามีส ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. อธิบายสิ่งที่รวมอยู่ในคำปฏิญาณอะเกาะบะฮ์ครั้งแรกในเมกกะ ก่อนที่จะมีการทำญิฮาดกับพวกเขา
  2. อัซ-ซินดีย์ กล่าวว่า: สำนวนหะดีษที่ว่า (ในการทำความดี): เป็นที่ทราบกันว่าแท้จริงแล้วทุกคำสั่งของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมล้วนเป็นสิ่งที่ดีงาม และเป็นไปไม่ได้ที่จะจินตนาการถึงสิ่งที่ตรงกันข้ามกับคำพูดของท่านนบี (ในการทำความดี) ถูกกล่าวเพื่อชี้ให้เห็นถึงเหตุผลของการต้องเชื่อฟัง และเพื่อเน้นย้ำว่าไม่มีการเชื่อฟังต่อสิ่งถูกสร้างในสิ่งที่ไม่ดีงาม และเพื่อบ่งชี้ว่าในการให้สัตยาบันควรจะกำหนดการเชื่อฟังเฉพาะในสิ่งที่ดีงามเท่านั้น ไม่ใช่โดยปราศจากเงื่อนไข
  3. มูฮัมหมัด บิน อิสมาอีล อัต-ตัยมีย์ และคนอื่นๆ กล่าวว่า: การเน้นกล่าวถึงการฆ่า (ในคำสอนนี้) โดยเฉพาะกับลูกหลานนั้น เพราะเป็นการฆ่าและการตัดขาดสายสัมพันธ์เครือญาติ จึงทำให้การให้ความสำคัญในการห้ามเรื่องนี้เข้มมวดอย่างยิ่ง และเนื่องจากเป็นเรื่องปกติในหมู่พวกเขา ซึ่งก็คือการฆ่าเด็กผู้หญิงและการฆ่าลูกชายเพราะกลัวความยากจน หรืออีกเหตุผลหนึ่งที่กล่าวถึงพวกเขา เพราะพวกเขาเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถปกป้องตัวเองได้
  4. อัล-นะวาวีย์ กล่าวว่า: "ความหมายโดยรวมของหะดีษนี้ถูกจำกัดเฉพาะในบางกรณีด้วยคำตรัสของพระเจ้าที่ว่า: {แท้จริงแล้ว อัลลอฮ์ไม่ทรงอภัยให้ใครก็ตามที่ตั้งภาคีกับพระองค์} ดังนั้นหากผู้ละทิ้งความเชื่อถูกฆ่าเนื่องจากการละทิ้งความเชื่อของเขา การฆ่าไม่ถือเป็นการชดใช้ให้เขา .
  5. อัล-กอฏีย์ อิยาด กล่าวว่า: นักวิชาการส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการลงโทษเป็นการไถ่บาป
ดูเพิ่มเติม