+ -

عَنْ عَبْدِ اللهِ بْنِ عُمَرَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمَا:
أَنَّ تَلْبِيَةَ رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: «لَبَّيْكَ اللهُمَّ، لَبَّيْكَ، لَبَّيْكَ لَا شَرِيكَ لَكَ لَبَّيْكَ، إِنَّ الْحَمْدَ وَالنِّعْمَةَ لَكَ وَالْمُلْكَ لَا شَرِيكَ لَكَ» قَالَ: وَكَانَ عَبْدُ اللهِ بْنُ عُمَرَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمَا يَزِيدُ فِيهَا: لَبَّيْكَ لَبَّيْكَ، وَسَعْدَيْكَ، وَالْخَيْرُ بِيَدَيْكَ، لَبَّيْكَ وَالرَّغْبَاءُ إِلَيْكَ وَالْعَمَلُ.

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح مسلم: 1184]
المزيــد ...

จากอับดุลลอฮ์ บิน อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า:
แท้จริง การกล่าวตัลบียะฮ์ ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม คือ «لَبَّيْكَ اللهُمَّ، لَبَّيْكَ، لَبَّيْكَ لَا شَرِيكَ لَكَ لَبَّيْكَ، إِنَّ الْحَمْدَ وَالنِّعْمَةَ لَكَ وَالْمُلْكَ لَا شَرِيكَ لَكَ» (มีความว่า) :“ โอ้อัลลอฮ์ ข้าพระองค์ได้ตอบสนองคำเรียกร้องของพระองค์ ข้าพระองค์ตอบสนองคำเรียกร้องของพระองค์ ด้วยการไม่ตั้งสิ่งใดมาเป็นภาคีกับพระองค์ แท้จริงการสรรเสริญ ความโปรดปรานและอำนาจเป็นของพระองค์ ไม่มีการตั้งสิ่งใดมาเป็นภาคีต่อพระองค์” เขากล่าวว่า: อับดุลลอฮ์ บิน อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เพิ่มมาในสำนวน ที่ว่า «لَبَّيْكَ لَبَّيْكَ، وَسَعْدَيْكَ، وَالْخَيْرُ بِيَدَيْكَ، لَبَّيْكَ وَالرَّغْبَاءُ إِلَيْكَ وَالْعَمَلُ» ซึ่งความว่า: ข้าพระองค์ได้ตอบสนองคำเรียกร้องของพระองค์ และได้ทำให้ข้าพระองค์ทรงมีความสุขในคำสั่งและข้อห้ามของพระองค์ และความดีงามทั้งหลายอยู่ในสองมือของพระองค์ ข้าพระองค์ได้ตอบสนองคำเรียกร้องของพระองค์ และยังพระองค์ข้าพระองค์ตั้งใจรับการตอบแทน และตั้งใจในการงาน

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 1184]

คำอธิบาย​

การกล่าวตัลบียะฮ์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เมื่อท่านต้องการประกอบพิธีกรรมฮัจญ์หรืออุมเราะห์ ท่านจะกล่าวว่า: (โอ้อัลลอฮ์ ข้าพระองค์ได้ตอบสนองคำเรียกร้องของพระองค์ ) เป็นการตอบสนองที่ยึดมั่นต่อพระองค์ หลังจากการตอบสนองที่พระองค์ทรงเรียกร้องเราในเรื่องของการอิคลาศ (ความบริสุทธิ์ใจ), เรื่องเตาฮีด (การให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์), การประกอบพิธีฮัจญ์ และอื่น ๆ (ข้าพระองค์ตอบสนองคำเรียกร้องของพระองค์ ด้วยการไม่ตั้งสิ่งใดมาเป็นภาคีกับพระองค์) เพราะพระองค์คือผู้เดียวที่คู่ควรแก่การเคารพภักดี ไม่มีหุ้นส่วนใด ๆ ร่วมกับพระองค์ ทั้งในฐานะพระเจ้า, ความเป็นเอกภาพของพระองค์, พระนาม และคุณลักษณะของพระองค์ (แท้จริงการสรรเสริญ) การกล่าวชื่นชมเป็นของพระองค์ (ความโปรดปราน) ทั้งหลายมาจากพระองค์ (เป็นของพระองค์) ในทุกการงาน (และอำนาจเป็นของพระองค์) เช่นเดียวกัน ( ไม่มีการตั้งสิ่งใดมาเป็นภาคีต่อพระองค์) ซึ่งล้วนแล้วเป็นของพระองค์แต่เพียงผู้เดียว อิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เสริมในสำนวน ว่า: (ข้าฯ ขอสนองตอบต่อพระองค์) ข้าฯ ขอสนองตอบด้วยความยินดี และขอให้พระองค์ประทานความสุขแก่ข้าฯ อย่างต่อเนื่อง (ความดีทั้งปวงอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์) และมาจากความโปรดปรานของพระองค์ทั้งสิ้น (ข้าฯ ขอสนองตอบต่อพระองค์ และความปรารถนาและคำวิงวอนทั้งหมดมุ่งตรงสู่พระองค์ ผู้ทรงเป็นเจ้าของความดี (และการกระทำทั้งมวลของข้าฯ ล้วนเป็นไปเพื่อพระองค์ เพราะพระองค์คือผู้เดียวที่คู่ควรแก่การเคารพภักดี)

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาสวาฮีลี อะซามีส ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. บัญญัติให้กล่าวคำตัลบียะฮ์ระหว่างประกอบพิธีฮัจญ์และอุมเราะห์ และเน้นย้ำให้กล่าวมันในขณะประกอบพิธีฮัจญ์และอุมเราะ เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์เฉพาะของพิธีดังกล่าว เช่นเดียวกับการกล่าว ตักบีร ที่เป็นสัญลักษณ์ของการละหมาด
  2. อิบนุ อัล-มูนีร กล่าวว่า: "ในการบัญญัติให้กล่าวคำตัลบียะฮ์นั้น มีการชี้ให้เห็นถึงการให้เกียรติของอัลลอฮ์ ตะอาลา ที่มีต่อปวงบ่าวของพระองค์ เนื่องจากการที่พวกเขาได้เดินทางมาเยือนบ้านของพระองค์ (อัลกะอ์บะฮ์) นั้น แท้จริงแล้วเป็นเพราะการเรียกร้องจากพระองค์ผู้ทรงเกรียงไกรและสูงส่ง"
  3. การยึดมั่นต่อการกล่าวคำตัลบิยะห์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุด และไม่เป็นไรหากจะเพิ่มเติมคำกล่าวอื่น ๆ เนื่องจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้ยอมรับในสิ่งนี้ อิบนุ หะญัรกล่าวว่า: "นี่คือแนวทางที่ยุติธรรมที่สุด โดยให้แยกคำกล่าวที่ถ่ายทอดมาจากท่านนบี (المرفوع) ไว้ต่างหาก และหากผู้กล่าวเลือกที่จะกล่าวคำที่ถ่ายทอดมาจากเศาะหาบะฮ์ (الموقوف) หรือคำที่แต่งขึ้นเองจากความคิดของเขา โดยเป็นคำที่เหมาะสมและเหมาะแก่สถานการณ์ ก็ให้กล่าวแยกออกมาต่างหากเพื่อไม่ให้ปะปนกับคำกล่าวที่มาจากท่านศาสดา และเรื่องนี้เปรียบเสมือนกับการขอดุอาในช่วง ตะชะฮุด ที่ท่านนบีได้กล่าวว่า: "จากนั้นให้เขาเลือกคำวิงวอนหรือคำสรรเสริญใด ๆ ที่เขาปรารถนา" ซึ่งหมายถึง หลังจากที่เขากล่าวในส่วนที่ถ่ายทอดจากท่านนบีเสร็จสิ้นแล้ว
  4. การส่งเสริมให้ผู้ชายยกเสียงสูงในการกล่าว ตัลบิยะห์ แต่สำหรับผู้หญิงนั้น ควรลดเสียงให้เบาลงเพื่อป้องกันฟิตนะฮ์ที่จะเกิดขึ้น
ดูเพิ่มเติม