+ -

عَنْ عَائِشَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهَا أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ:
«تَحَرَّوْا لَيْلَةَ القَدْرِ فِي الوِتْرِ مِنَ العَشْرِ الأَوَاخِرِ مِنْ رَمَضَانَ».

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح البخاري: 2017]
المزيــد ...

จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ซึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
“จงแสวงหาลัยละตุลก็อดร์ในคืนเลขคี่ของสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน”

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์อัลบุคอรีย์ - 2017]

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กระตุ้นให้เราขยันหมั่นเพียรในการแสวงหาลัยละตุลก็อดร์ด้วยการทำความดีให้มาก ซึ่งมันมักจะเกิดขึ้นในคืนเลขคี่ของสิบคืนสุดท้ายในเดือนรอมฎอนของทุกปี ได้แก่ คืนที่ยี่สิบเอ็ด คืนที่ยี่สิบสาม คืนที่ยี่สิบห้า คืนที่ยี่สิบเจ็ด และคืนที่ยี่สิบเก้า

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาสวาฮีลี อะซามีส ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. ความประเสริฐของลัยละตุลก็อดร์ และการส่งเสริมให้แสวงหามัน
  2. ด้วยพระปรีชาญาณและความเมตตาของพระเจ้า พระองค์ทรงซ่อนตัวในคืนนี้เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนนมัสการ แสวงหามัน และเพื่อให้รางวัลของพวกเขาเพิ่มขึ้น
  3. คืนลัยละตุลก็อดร์อยู่ในช่วงสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน และในคืนคี่ (ของสิบคืนสุดท้าย) จะมีความหวังมากที่สุดที่จะเป็นคืนดังกล่าว
  4. ลัยละตุลก็อดร์ เป็นหนึ่งในสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน และเป็นคืนที่พระเจ้าผู้ทรงอำนาจทรงประทานอัลกุรอานแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และทำให้คืนนี้ดีกว่าหนึ่งพันเดือน เนื่องด้วยพระพร คุณค่าอันมหาศาล และผลของการทำความดีในคืนนั้น
  5. มันถูกเรียกว่า (ลัยละตุลก็อดร์) เพราะความหมายของมันนั้น ไม่ว่าจะมาจากการให้เกียรติ จึงมีผู้กล่าวว่า: ชายคนนั้นมีเกียรติอย่างสูง ดังนั้นการเพิ่มคำว่า "คืน" ลงไป จึงเป็นการเพิ่มบางสิ่งบางอย่างเข้าไปในคำอธิบายคุณลักษณะของมัน กล่าวคือ คืนอันทรงเกียรติ หมายถึง มันเป็นการยกย่องอย่างสูงยิ่งในด้านเกียรติยศ ความรุ่งโรจน์ และสถานะ ฯลฯ “ แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอันจำเริญ ” (อัด-ดุคอน : 3) หรือจากการประมาณการณ์ : กล่าวเสริม มาจากการเพิ่มคำวิเศษณ์เข้าไปในสิ่งที่บรรจุอยู่ นั่นคือ คืนนี้เป็นการกำหนดการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในปีนั้น "ในคืนนั้นทุก ๆ กิจการที่สำคัญถูกจำแนกไว้แล้ว" (อัด-ดุคอน : 4)