«مَا مِنْ رَجُلٍ يُذْنِبُ ذَنْبًا، ثُمَّ يَقُومُ فَيَتَطَهَّرُ، ثُمَّ يُصَلِّي، ثُمَّ يَسْتَغْفِرُ اللهَ، إِلَّا غَفَرَ اللهُ لَهُ»، ثُمَّ قَرَأَ هَذِهِ الْآيَةَ: {وَالَّذِينَ إِذَا فَعَلُوا فَاحِشَةً أَوْ ظَلَمُوا أَنْفُسَهُمْ ذَكَرُوا اللهَ فَاسْتَغْفَرُوا لِذُنُوبِهِمْ} [آل عمران: 135].
[صحيح] - [رواه أبو داود والترمذي والنسائي في الكبرى وابن ماجه وأحمد] - [سنن الترمذي: 406]
المزيــد ...
จากท่านอะลี เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า “ฉันเป็นคนที่ เมื่อฉันได้ยินหะดีษหนึ่งจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อัลลอฮ์จะทรงให้ประโยชน์แก่ฉันตามที่พระองค์ทรงประสงค์ที่จะให้ประโยชน์แก่ฉัน และเมื่อมีคนหนึ่งจากเศาะฮาบะฮ์ของท่านได้เล่าให้ฉันฟัง ฉันจะขอให้เขาทำการสาบานก่อน และเมื่อเขาได้ทำการสาบานแล้ว ฉันก็จะเชื่อเขา และอบูบักร์ได้บอกฉัน และอบูบักร์ก็เล่าความจริง เขากล่าวว่า ฉันได้ยินท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
“ไม่มีใครที่ทำบาป จากนั้นเขาก็ลุกขึ้นอาบน้ำละหมาด แล้วทำการละหมาด จากนั้นก็ขอการอภัยโทษจากอัลลอฮ์ นอกจากอัลลอฮ์จะทรงอภัยโทษให้แก่เขา” หลังจากนั้นท่านก็อ่านโองการที่ว่า {وَالَّذِينَ إِذَا فَعَلُوا فَاحِشَةً أَوْ ظَلَمُوا أَنْفُسَهُمْ ذَكَرُوا اللهَ فَاسْتَغْفَرُوا لِذُنُوبِهِمْ} [آل عمران: 135].ความว่า"{และบรรดาผู้ที่เมื่อพวกเขากระทำความผิดหรืออธรรมต่อตนเองแล้ว พวกเขาก็รำลึกถึงอัลลอฮ์ และขออภัยโทษต่อความผิดของพวกเขา}"(อาลา-อิมรอน:135)
[เศาะฮีห์] - - [สุนันอัตติรมิซีย์ - 406]
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า ไม่มีบ่าวของอัลลอฮ์คนใดที่ทำบาป แล้วทำการอาบน้ำละหมาดอย่างดี จากนั้นลุกขึ้นละหมาดสองร็อกอะฮ์ด้วยเจตนาการเตาบะฮ์จากบาปนั้นของเขา จากนั้นเขาขอการอภัยโทษจากอัลลอฮ์ แน่นอน อัลลอฮ์จะอภัยให้แก่เขา จากนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็อ่านโองการของอัลลอฮ์ที่ว่า: {และบรรดาผู้ที่เมื่อพวกเขากระทำความผิดหรืออธรรมต่อตนเองแล้ว พวกเขาก็รำลึกถึงอัลลอฮ์ และขออภัยโทษต่อความผิดของพวกเขา และใครเล่าที่จะให้อภัยต่อบรรดาบาปเหล่านั้นได้ เว้นแต่อัลลอฮ์เท่านั้น และพวกเขาจะไม่คงกระทำในความผิดนั้นอีกต่อไปโดยที่พวกเขารู้ดี} ( อาลา อิมรอน : 135)