+ -

عَنْ ابْنِ عُمَرَ رَضيَ اللهُ عنهُما أَنَّهُ سَمِعَ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ:
«مَا حَقُّ امْرِئٍ مُسْلِمٍ لَهُ شَيْءٌ يُوصِي فِيهِ، يَبِيتُ ثَلَاثَ لَيَالٍ، إِلَّا وَوَصِيَّتُهُ عِنْدَهُ مَكْتُوبَةٌ»، قَالَ عَبْدُ اللهِ بْنُ عُمَرَ رضي الله عنهما: «مَا مَرَّتْ عَلَيَّ لَيْلَةٌ مُنْذُ سَمِعْتُ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ ذَلِكَ إِلَّا وَعِنْدِي وَصِيَّتِي».

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح مسلم: 1627]
المزيــد ...

จากอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ซึ่งเขาได้ฟังมาจากท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
"ไม่สมควรที่มุสลิมคนใดที่มีภาระเหนือเขาจะต้องสั่งเสีย เขาจะนอนในเวลาสามคืน นอกจากว่าเขาจะต้องเขียนพินัยกรรมไว้ อับดุลลอฮ์ บิน อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า: ไม่เคยมีคืนใดผ่านไป หลังจากที่ฉันได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม พูดอย่างนั้น เว้นแต่ฉันจะมีพินัยกรรมที่ได้เขียนไว้"

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 1627]

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า ไม่สมควรสำหรับมุสลิมที่มีภาระจะต้องสั่งเสียไม่ว่าสิทธิหรือทรัพย์สินต่างๆถึงแม้นจะน้อยนิด ที่เขานอนหลับเป็นเวลา 3 คืน เว้นแต่พินัยกรรมของเขาจะถูกเขียนไว้ในมือของเขา อับดุลลอฮ์ บิน อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า: ไม่เคยมีคืนใดผ่านไป หลังจากที่ฉันได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม พูดอย่างนั้น เว้นแต่ฉันจะมีพินัยกรรมที่ได้เขียนไว้

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. บัญญัติให้ทำพินัยกรรมและให้มีจัดทำอย่างรีบเร่ง เพื่อเป็นคำอธิบาย เพื่อน้อมรับคำสั่งของพระเจ้า เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับความตาย และการไตร่ตรองเกี่ยวกับพินัยกรรมและการนำไปใช้ในทางที่เหมาะสม ก่อนที่จะถูกเบี่ยงเบนความสนใจไปจากพินัยกรรมนั้น
  2. พินัยกรรม หมายถึง พันธสัญญา ซึ่งการที่บุคคลหนึ่งได้สัญญาไว้ว่าจะมอบสมบัติของเขาให้กับอีกบุคคลหนึ่งภายหลังการเสียชีวิตของเขา หรือ มอบหมายให้บุคคลหนึ่งดูแลลูกเล็ก ๆ ของเขา หรือมอบหมายให้บุคคลใดทำธุรกิจใดที่เขาเป็นเจ้าของภายหลังการเสียชีวิตของเขา
  3. พินัยกรรมมีสามประเภท คือ: 1.พินัยกรรมที่เป็นที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติ
  4. คือ การพินัยกรรมส่วนหนึ่งของทรัพย์สินเพื่อนำไปใช้ในหนทางแห่งความดีและการทำความดี เพื่อที่ผลบุญจะส่งถึงเขาหลังจากเสียชีวิต
  5. 2.พินัยกรรมที่จำเป็นต้องทำ คือ การพินัยกรรมเกี่ยวกับสิทธิ์ที่ติดค้างอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิ์ที่เป็นของอัลลอฮ์ เช่น การจ่ายซะกาตที่ยังไม่ได้จ่าย การชดใช้ (กัฟฟาเราะฮ์) หรือสิ่งอื่น ๆ ที่จำเป็นตามหลักศาสนา หรือสิทธิ์ที่เป็นของมนุษย์ เช่น หนี้สิน หรือการคืนทรัพย์สินที่ได้รับฝากไว้ 3.พินัยกรรมที่ต้องห้าม คือ การพินัยกรรมเกินกว่าหนึ่งในสามของทรัพย์สิน หรือการพินัยกรรมให้แก่ทายาทที่มีสิทธิ์รับมรดกอยู่แล้ว
  6. ความดีงามของอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ และความเร่งรีบของเขาในการทำความดี และปฏิบัติตามธรรมอันชาญฉลาด
  7. อิบนุ ดะกิก อัล-อีด กล่าวว่า: การอนุโลมในสองหรือสามคืนเป็นการขจัดความลำบากและความยากในการปฏิบัติ
  8. สิ่งที่สำคัญควรถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เพราะการเขียนเป็นวิธีที่มั่นคงและช่วยรักษาสิทธิ์ได้ดียิ่งขึ้น
การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษาสวาฮีลี อะซามีส แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาโรมาเนีย ภาษาฮังการี الجورجية
ดูการแปล
ดูเพิ่มเติม