+ -

عن عائشةَ أمِّ المؤْمنِين رضي الله عنها قالت:
لَمْ يَكُنِ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَلَى شَيْءٍ مِنَ النَّوَافِلِ أَشَدَّ مِنْهُ تَعَاهُدًا عَلَى رَكْعَتَيِ الفَجْرِ.

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح البخاري: 1169]
المزيــد ...

จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ มารดาแห่งศรัทธาชน เราะฎิยัลลอฮุอันฮา เล่าว่า:
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮ์ อลัยฮิ วะสัลลัม ไม่ได้เข้มงวดกับการละหมาดสุนนะฮ์ใดมากไปกว่าการที่เขามุ่งมั่นที่จะปฏิบัติละหมาดสองร็อกอะฮ์ก่อนละหมาดฟัจร์

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์อัลบุคอรีย์ - 1169]

คำอธิบาย​

ท่านหญิงอาอิชะฮ์ มารดาแห่งศรัทธาชน เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮ์ อลัยฮิ วะสัลลัม ไม่ตระหนัก มุ่งมั่น และให้ความสำคัญกับสุนนะฮ์ใดๆ มากกว่าการละหมาดสุนนะฮ์สองร็อกอะฮ์เป็นประจำทุกวันก่อนการละหมาดฟัจญ์ริ

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. การละหมาดสุนนะฮ์คือการเชื่อฟังภักดีที่อยู่นอกเหนือจากการละหมาดฟัรฎู และในที่นี้หมายถึง สุนนะฮ์รอวาติบ ซึ่งเป็นละหมาดสุนนะฮ์ที่ประกอบควบคู่กับละหมาดฟัรฎู"
  2. การละหมาดสุนนะฮ์เราะวาติบ คือ: สองร็อกอะฮ์ก่อนฟัจญ์ริ สี่ร็อกอะห์ก่อนซุฮรี่และสองร็อกอะห์หลังจากนั้น สองร็อกอะห์หลังมัฆริบและสองร็อกอะห์หลังละหมาดอิชาอ์
  3. การละหมาดสุนนะฮ์ฟัจร์จะดำเนินการปฏิบัติทั้งที่บ้านและขณะเดินทาง ไม่เหมือนการละหมาดสุนนะฮ์ซุฮรี่ มัฆริบ และอีชาอ์ ซึ่งจะมีการละหมาดเฉพาะในช่วงปกติเท่านั้น (ไม่มีการเดินทาง)
  4. การส่งเสริมอย่างยิ่งยวดให้ปฏิบัติละหมาดสุนนะฮ์สองรอกาอะฮ์ก่อนละหมาดฟัรฺญ์ (ซุบฮฺ) ดังนั้นจึงไม่สมควรละเลยต่อการปฏิบัติละหมาดทั้งสองรอกาอะฮ์นี้
การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษาสวาฮีลี อะซามีส ภาษาโรมาเนีย ภาษาฮังการี الجورجية
ดูการแปล
ดูเพิ่มเติม