عَنْ أَبِي مُوسَى رَضيَ اللهُ عنه عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ:
«مَثَلُ مَا بَعَثَنِي اللَّهُ بِهِ مِنَ الهُدَى وَالعِلْمِ كَمَثَلِ الغَيْثِ الكَثِيرِ أَصَابَ أَرْضًا، فَكَانَ مِنْهَا نَقِيَّةٌ، قَبِلَتِ المَاءَ، فَأَنْبَتَتِ الكَلَأَ وَالعُشْبَ الكَثِيرَ، وَكَانَتْ مِنْهَا أَجَادِبُ، أَمْسَكَتِ المَاءَ، فَنَفَعَ اللَّهُ بِهَا النَّاسَ، فَشَرِبُوا وَسَقَوْا وَزَرَعُوا، وَأَصَابَتْ مِنْهَا طَائِفَةً أُخْرَى، إِنَّمَا هِيَ قِيعَانٌ لاَ تُمْسِكُ مَاءً وَلاَ تُنْبِتُ كَلَأً، فَذَلِكَ مَثَلُ مَنْ فَقُهَ فِي دِينِ اللَّهِ وَنَفَعَهُ مَا بَعَثَنِي اللَّهُ بِهِ، فَعَلِمَ وَعَلَّمَ، وَمَثَلُ مَنْ لَمْ يَرْفَعْ بِذَلِكَ رَأْسًا، وَلَمْ يَقْبَلْ هُدَى اللَّهِ الَّذِي أُرْسِلْتُ بِهِ».
[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح البخاري: 79]
المزيــد ...
จากอบีมูซา เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
"แท้จริงอุปมาสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ส่งฉันมาด้วยกับสิ่งนั้น จากทางนำและความรู้ เปรียบเสมือนน้ำฝนที่ได้หลั่งลงมายังพื้นดิน โดยที่จากผืนดินนั้น มีประเภทที่ดี ที่มันเก็บน้ำไว้ แล้วมันได้ทำให้พืชผักนานาชนิด ได้งอกเงยขึ้นมา และจากผืนดินนั้น เป็นที่เก็บน้ำ และอัลลอฮ์ได้ให้ผู้คนได้รับประโยชน์ด้วยกับผืนดินประเภทนั้น โดยที่พวกเขาได้ดื่มน้ำจากผืนดินนั้น และนำไปรดพืชผัก และน้ำฝนนั้นได้หลั่งลงไปยังดินอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นดินที่ไม่สามารถเก็บน้ำได้ และไม่สามารถให้พืชผักงอกเงยขึ้นมาได้ ดังกล่าวนั้น คือการเปรียบเปรย บุคคลที่เขาได้เข้าใจในศาสนาของอัลลอฮ์ และเขาได้ประโยชน์จากมัน ต่อสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ส่งฉันด้วยกับมัน แล้วเขาได้รู้ และได้นำมันไปสอน(ผู้อื่น) และเปรียบเปรยผู้ที่ไม่ได้เงยศรีษะมาสนใจในเรื่องดังกล่าว(ความรู้) และไม่รับทางนำของอัลลอฮ์ ซึ่งฉันได้ถูกส่งด้วยกับการนำมันมา"
[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์อัลบุคอรีย์ - 79]
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้เปรียบเปรยด้วยความน่าทึ่งว่า ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากสิ่งที่ท่านได้นำมา ไม่ว่าจะเป็นแนวทาง คำชี้แนะ หรือความรู้ศาสนา เปรียบเสมือนแผ่นดินที่ฝนตกลงมาอย่างชุ่มฉ่ำ ซึ่งแผ่นดินนั้นก็มีอยู่ 3 ประเภท: ประเภทแรก คือดินแดนที่บริสุทธิ์และดี สามารถรับน้ำฝนและผลิตพืชพรรณมากมายทั้งเปียกและแห้ง และประชาชนได้รับประโยชน์ ประเถทที่สอง แผ่นดินที่เก็บกักน้ำไว้ได้ แต่ไม่สามารถเพาะปลูกพืชผลได้ อย่างไรก็ตาม แผ่นดินนั้นก็เก็บรักษาน้ำไว้เพื่อให้ผู้คนได้ใช้ประโยชน์ เช่น ดื่มน้ำ ให้สัตว์เลี้ยงกิน และรดพืชผลของพวกเขา ประเภทที่สาม คือดินที่ราบเรียบที่ไม่กักเก็บน้ำหรือปลูกพืชผล มันไม่ได้รับประโยชน์จากน้ำนั้นเอง และผู้คนก็ไม่ได้รับประโยชน์จากมันด้วย เช่นเดียวกับบรรดาผู้ที่ฟังสิ่งที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งถูกส่งมาด้วยความรู้และการชี้นำ ประเภทที่หนึ่ง: คือผู้มีความรู้ ผู้ศึกษาหลักศาสนาของอัลลอฮ์อย่างลึกซึ้ง ปฏิบัติตามความรู้ของตน และสอนผู้อื่นด้วย เขาเปรียบเสมือนแผ่นดินที่ดี ซึ่งดูดซับน้ำไว้แล้วเกิดประโยชน์ต่อตัวเอง และยังงอกเงยพืชพันธุ์ออกมาสร้างประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วย ประเภทที่สอง: คือผู้ที่รักษาความรู้ไว้ แต่ไม่มีความเข้าใจลึกซึ้งหรือความสามารถในการวินิจฉัยสรุป เขาเป็นผู้รวบรวมความรู้ ใช้เวลาทั้งหมดไปกับการเก็บสะสมมัน แต่เขาอาจไม่ได้ปฏิบัติตามในส่วนของอาม้าลซุนนะฮฺ หรือยังไม่เข้าใจสิ่งที่ตนรวบรวมมาได้อย่างลึกซึ้ง เขาเปรียบเสมือนเครื่องมือสำหรับผู้อื่น และเปรียบได้กับแผ่นดินที่เก็บกักน้ำไว้ เพื่อให้ผู้คนได้ใช้ประโยชน์จากน้ำนั้น ประเภทที่สาม: คือผู้ที่ได้ยินความรู้ แต่ไม่จดจำมัน ไม่ปฏิบัติตาม และไม่ถ่ายทอดให้ผู้อื่น เขาเปรียบเสมือนแผ่นดินเค็ม หรือพื้นดินเรียบลื่น ซึ่งไม่สามารถเพาะปลูกอะไรได้ และไม่อุ้มน้ำไว้ หรือทำให้น้ำเสียสำหรับผู้อื่น